ลักษณะภูมิประเทศของภาคตะวันตก แบ่งออกได้เป็น 2 เขตใหญ่ๆ คือ

   1.เขตเทือกเขา เป็นเทือกเขาสูงทอดตัวในแนวเหนือใต้ตั้งแต่จังหวัดตากถึงประจวบคีรีขันธ์ เป็นแนว
พรมแดน ธรรมชาติที่กั้นระหว่างไทยกับพม่า ที่สำคัญได้แก่
      1.1 เทือกเขาถนนธงชัย
      1.2 เทือกเขาที่อยู่ระหว่างแม่น้ำแควใหญ่และแม่น้ำแควน้อย
      1.3 เทือกเขาตะนาวศรี
     ระหว่างเทือกเขาต่างๆ มีที่ราบลุ่มแม่น้ำสลับอยู่ ที่ราบลุ่มแม่น้ำเหล่านี้เกิดจากการยุบตัวของเปลือกโลก
ที่เรียกว่า แอ่งกราเบน กลายเป็นหุบเขาและลุ่มแม่น้ำ บริเวณที่ยกตัวสูงขึ้นเรียกว่า ฮอร์สต์ กลายเป็นภูเขา
และเทือกเขา ที่ราบลุ่มแม่น้ำสำคัญได้แก่ ที่ราบลุ่ม แม่น้ำแควใหญ่ ที่ราบลุ่มแม่น้ำแควน้อยและที่ราบลุ่มแม่น้ำ
เพชรบุรี 



      เมื่อแบ่งพื้นที่ภาคตะวันตกตามระดับความสูง จะพบว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ร้อยละ 58 เป็นภูเขาสูง ร้อยละ 23
 เป็นที่ราบ และร้อยละ 19 เป็น ที่ราบเชิงเขา ลักษณะภูมิประเทศของภาคตะวันตกคล้ายคลึงกับภาคเหนือ
คือเป็นเทือกเขาสูงสลับหุบเขาแคบ ทางตะวันตกจะมีเทือกเขา สูงเป็นแนวยาวต่อเนื่อง จากภาคเหนือทอด
ตัวลงไปทางภาคใต้ ส่วนทางตะวันออกจะเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ และที่ราบชายฝั่งทะเล



ขอบคุณภาพจาก กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช


2.เขตที่ราบ: ได้แก่ บริเวณที่อยู่ระหว่างเขตเทือกเขากับที่ราบภาคกลางและอ่าวไทย โดยมีอาณาบริเวณ
ตั้งแต่ทางด้าน ตะวันออกของจังหวัดกาญจนบุรี ต่อมายังจังหวัดราชบุรีและประจวบคีรีขันธ์ เขตนี้แบ่งออก
เป็นสองเขต ย่อยได้แก่ 
       เขตที่ราบขั้นบันได: บริเวณที่ราบทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดกาญจนบุรี และราชบุรี เป็น
ที่ราบที่เกิดจากการสะสมตัว ของตะกอนโดยอิทธิพลของแม่ น้ำแม่กลอง และแม่น้ำท่าจีน ที่ราบในเขตนี้
จะสูงทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือ ซึ่งติดต่อกับเขตเทือกเขาแล้วค่อยลาดต่ำลงมาทางตะวันออก และตะวัน





ออกเฉียงใต้ จนจดที่ราบภาคกลาง และอ่าวไทย มีลักษณะคล้ายขั้นบันไดเขตที่ราบชายฝังทะเล : บริเวณตั้งแต่ตอนเหนือของจังหวัดเพชรบุรีเลียบชายฝั่งทะเลลงไปจนสุดเขต จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่ราบดังกล่าวนี้ เป็นที่ราบแคบๆ ยาวๆ ที่เกิดจากการกระทำของคลื่น ซึ่งเป็น ที่ราบชายฝั่งทะเลยกตัว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น